คำศัพท์ที่ควรทราบ

ความหมายและคำจำกัดความที่ใช้ในระบบการประกันคุณภาพ

คุณภาพ หมายถึง ผลการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ตามระบบกลไกประกันคุณภาพเพื่อให้ได้บัณฑิตที่พึงประสงค์ สร้างองค์ความรู้และนวัตกรรม และเป็นที่พึ่งของสังคม
ระบบการประกันคุณภาพ หมายถึง การประกันคุณภาพภายใน และการประกันคุณภาพภายนอก ตามที่ระบุในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 47
ระบบและกลไกประกันคุณภาพภายใน หมายถึง การประเมินผลการดำเนินงานทุกอย่างที่มีความสัมพันธ์และเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ โดยอาศัยผู้รับผิดชอบตามแนวทางของดัชนีคุณภาพและวิธีการปฏิบัติ เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมาย
การประกันคุณภาพภายนอก หมายถึง การประเมินผลการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต โดยองค์กรภายนอกตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 คือ สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน)
บัณฑิตที่พึงประสงค์ หมายถึง ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ที่มีทักษะพื้นฐาน ความสามารถทางสังคม และความสามารถทางวิชาชีพตามที่มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตกำหนด
ผู้บริหาร หมายถึง กลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานและบริการ ของมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต แบ่งเป็น 2 กลุ่ม
ผู้บริการภายใน หมายถึง บุคลากรทุกคนของมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
ผู้บริการภายนอก หมายถึง นักศึกษา ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stake-holders)
เช่น ผู้ปกครองของนักศึกษาผู้ใช้บัณฑิต ผู้ให้ทุนการศึกษา ผู้อุปการะคุณ และบุคคล/หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับคณะ
ดัชนีคุณภาพ หมายถึง ข้อความที่ระบุคุณลักษณะการดำเนินงานใดๆ ให้มีคุณภาพโดยกระบวนการ PDCA-P
P-Plan หมายถึง การระบุแนวทางการดำเนินงานระเบียบกฎเกณฑ์หรือแผนการ ดำเนินงาน
D-Do หมายถึง การลงมือปฏิบัติตาม ระเบียบ กฎเกณฑ์ หรือแผนการดำเนินงาน
C-Check หมายถึง การติดตาม/ตรวจสอบ/ประเมินผลการทำงาน
A-Act หมายถึง การนำผลการประเมินฯ มาพัฒนาการทำงานให้ดีขึ้นกว่าเดิม
P-Participate หมายถึง การมีส่วนร่วมทั้งจากผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติ ผู้รับบริการและสังคม ของการดำเนินงานในขั้นตอน P,D,C,A หรือ P และ/หรือ ทุกขั้นตอน
การประเมินคุณภาพภายใน หมายถึง การดำเนินการเพื่อให้ทราบถึงประสิทธิภาพและประสิทธิผล รวมทั้งจุดอ่อน และจุดแข็ง เพื่อหาแนวทางแก้ไขและส่งเสริมการดำเนินงานของภาควิชา/หน่วยงาน และคณะ ตามระบบกลไกการประกันคุณภาพภายใน
การพัฒนากระบวนการทำงาน หมายถึง การปฏิบัติงานผ่านกระบวนการ PDCA -P หรือใช้เครื่องมือคุณภาพ (quality tools) มีการวิจัยและใช้เทคโนโลยีร่วมด้วย มีการบันทึกเป็นหลักฐาน สามารถตรวจสอบได้ และ/หรือ ทำงานเป็นทีม
ความเสี่ยง หมายถึง เหตุการณ์ หรือภาวะการณ์ที่เบี่ยงเบนไปจากสภาพปกติ ซึ่งส่งผลกระทบต่อชื่อเสียง ความเสียหายต่อทรัพย์สิน ความปลอดภัยของบุคลากร/นักศึกษา ของมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
การบริหารความเสี่ยง หมายถึง การดำเนินงานได้ครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ โดยใช้ทรัพยากรน้อยและได้รับผลสูง

เอกสารอ้างอิง
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ
สำนักนายกรัฐมนตรี

Posted In

วิวัฒนาการของศาสนา

1. ศาสนาปฐมภูมิ (Primative Religion)
มีพื้นฐานอยู่ที่ความต้องการบรรเทาความกลัวภัยธรรมชาติ แสดงออกเป็นรูปธรรมด้วยพิธีกรรมทางมายา (magic) มี Taboo (ข้อห้าม) เป็นกฏของสังคม

พลังเหนือธรรมชาติ มี 3 ลักษณะ
1. อำนาจที่แฝงอยู่ใน ต้นไม้ ภูเขา แม่น้ำ สัตว์
2. อำนาจที่มีลักษณะเป็นบุคคล เช่น วิญญาณบรรพบุรุษ ผีสางเทวดา เจ้าป่า เจ้าเขา
3. อำนาจที่มีความหมายต่อบุคคลในเผ่า เป็นสัญลักษณ์ที่ทุกคนยอมรับ อาจให้คุณให้โทษได้

ลัทธิต่าง ๆ
1. ลัทธิมายา-ไสยศาสตร์ (Magic)
2. ลัทธิบูชาธรรมชาติ (Nature Worship)
3. ลัทธิวิญญาณนิยม (Animism)
4. ลัทธิบูชาสัตว์ (Animal Worship)
5. ลัทธิบูชาบรรพบุรุษ (Ancestor Worship)
6. ลัทธินับถือผู้ยิ่งใหญ่ (Supreme Being)

2. ศาสนาโบราณ (Ancient Religion)
เป็นศาสนาที่ก่อตั้งขึ้นตามความคิดของคนโบราณ เพื่อตอบปัญหาว่าด้วยความปลอดภัยจากสถานการณ์ของธรรมชาติ
1. มีเทพเจ้าเป็นสัญลักษณ์แห่งอำนาจ ทั้งในโลกและปรโลก
2. มีลักษณะคือ เชื่อเรื่องเทพเจ้า เป็นพหุเทวนิยม ไม่มีศาสดา ใช้ myth เป็นคัมภีร์
3. ศาสนาโบราณเป็นศาสนาที่ตายแล้ว (Dead Religion) คือไม่มีผู้นับถือแล้ว เช่น
* ศาสนาโบราณในทวีปเอเชีย ได้แก่ ศาสนาบาบิโลน, ศาสนาของพวกฮิทไทท์
* ศาสนาโบราณในทวีปแอฟริกา ได้แก่ ศาสนาอียิปต์โบราณ
* ศาสนาโบราณในทวีปยุโรป ได้แก่ ศาสนากรีก-โรมันโบราณ, ศาสนาติวตัน-สแกนดิเนเวียนโบราณ
* ศาสนาโบราณในทวีปอเมริกาได้แก่ ศาสนาเปรูโบราณ (อินคา), ศาสนาเม็กซิกันโบราณ (มายา, อัชเทค, โทลเทค, โอลเมค)

3. ศาสนาปัจจุบัน (Living Religion)
เป็นศาสนาที่ยังมีผู้นับถือ มีองค์ประกอบครบถ้วนและมีบทบาทต่อสังคมในระดับต่าง ๆ แบ่งตามปฏิสัมพันธ์ทางภูมิ-ประวัติศาสตร์ เผ่าพันธุ์ ได้แก่
1. ศาสนากลุ่มอารยัน ได้แก่ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู, ศาสนาเชน, ศาสนาพุทธ และ ศาสนาสิกข์
2. ศาสนากลุ่มเซเมติค ได้แก่ ศาสนาโซโรอัสเตอร์, ศาสนายิว, ศาสนาคริสต์ และ ศาสนาอิสลาม
3. ศาสนากลุ่มมองโกล ได้แก่ ศาสนาเต๋า, ศาสนาขงจื้อ และศาสนาชินโต

ที่มา : http://www.thai-folksy.com/ELearning/Religion/Religion.html

Posted In

ศาสนาอิสลามกับเดือนรอมฎอน

เดือนรอมฎอนมีความสำคัญอย่างไร ?

(( إِذَا جَاءَ رَمَضَانُ فُتِّحَتْ أَبْوَابُ الْجَنَّة وَأُغْلِقَتْ أَبْوَابُ النَّارِ وَصُفِّدَتِ الشَّيَاطِيْنُ ))

“เมื่อเดือนรอมฎอนมาถึง ประตูต่างๆของสวรรค์ก็ถูกเปิด และประตูต่างๆของนรกก็ถูกปิด และบรรดาชัยฏอนก็ถูกพันธนาการไว้” (บันทึกโดยอัลบุคอรียฺและมุสลิม)

ท่านมีความรู้สึกต่อเดือนรอมฎอนอย่างไร ?
เมื่อท่านนบีได้ก้าวขึ้นมิมบัรท่านได้กล่าวว่า “อามีน อามีน อามีน” มีผู้ถามว่า “โอ้ท่านร่อซูลุลลอฮฺ แท้จริงเมื่อท่านได้ก้าวขึ้นมิมบัร ท่านได้กล่าวว่า อามีน อามีน อามีน” ท่านร่อซูลุลลอฮฺตอบว่า

(( إِنَّ جِبْرَائِيْلَ أَتَانِيْ فَقَالَ : مَنْ أَدْرَكَ شَهْرَ رَمَضَانَ فَلَمْ يُغْفَرْ لَهُ فَدَخَلَ النَّارَ فَأَبْعَدَهُ اللهُ . قُلْ : آمِيْنَ ، فَقُلْتُ : آمِيْنَ ... ))
“แท้จริงญิบรออีล ได้มาหาฉัน (ขณะนั้น) แล้วกล่าวว่า ผู้ใดเข้าสู่เดือนรอมฎอนแล้วเขาไม่ได้รับการอภัยโทษ เขาเข้าสู่ไฟนรก ขอให้เขาห่างไกลจากความเมตตาของพระองค์ ท่านจงกล่าวว่า อามีน แล้วฉันก็กล่าวว่า อามีน” บันทึกโดยอัลคุซัยมะฮฺ อะหมัด และอัลบัยฮะกียฺ

สังคมมองหยั่งเดือนรอมฎอนอย่างไร ?
﴿ شَهْرُ رَمَضَانَ الَّذِي أُنزِلَ فِيهِ الْقُرْآنُ هُدًى لِّلنَّاسِ وَبَيِّنَاتٍ مِّنَ الهُدَى وَالْفُرْقَانِ ، فَمَن شَهِدَ مِنكُمُ الشَّهْرَ فَلْيَصُمْهُ ﴾
“เดือนรอมฎอนนั้นเป็นเดือนที่อัลกุรอานถูกประทานลงมาในฐานะเป็นข้อแนะนำสำหรับมนุษย์ และเป็นหลักฐานอันชัดเจนเกี่ยวกับข้อแนะนำนั้น และเกี่ยวกับสิ่งที่จำแนกระหว่างความจริงกับความเท็จ ดังนั้น ผู้ใดในหมู่พวกเจ้าเข้าอยู่ในเดือนนั้นแล้ว ก็จงถือศีลอดในเดือนนั้นเถิด” (บะเกาะเราะฮฺ 185)จะทำอย่างไรให้เดือนรอมฎอนเป็นเดือนอันประเสริฐที่มีคุณค่าในชีวิตและสังคมของเรา ?