สัญญาณวิกฤตมนุษย์เงินเดือน

  • warning: Illegal string offset 'data' in /home/ctcDruP2565/web/ctc.kbu.ac.th/public_html/drupal/includes/tablesort.inc on line 110.
  • warning: Illegal string offset 'data' in /home/ctcDruP2565/web/ctc.kbu.ac.th/public_html/drupal/includes/tablesort.inc on line 110.

เมื่อองค์กรแห่งยุคโลกไร้พรมแดนต่างลงความเห็นว่า แรงงานไทยยังไม่สามารถยกระดับ
คุณภาพเพื่อตอบสนองความต้องการทางธุรกิจได้ดีพอ อะไรจะเกิดขึ้นกับการจ้างงานในอนาคต

ปัญหา “คุณภาพ” แรงงานไทย
การหลั่งไหลเข้ามาของแรงงานต่างชาติที่เกิดขึ้น เป็นผลมาจากปัญหาคุณภาพแรงงานไทยที่ไม่
สามารถตอบสนองความต้องการขององค์กรธุรกิจในปัจจุบันที่ต้องแข่งขันกันสูงขึ้น ทั้งจากองค์กร
ในประเทศด้วยกันเองและคู่แข่งต่างชาติที่ไหลบ่าเข้ามาตามกระแสโลกาภิวัตน์ แม้จะมีผู้บริหาร
ชาวไทยเริ่มได้รับความไว้วางใจจากหลายๆ องค์กรระดับโลกให้มารับตำแหน่งผู้บริหารระดับสูง
มากขึ้น แต่สิ่งที่เป็นอุปสรรคสำคัญต่อการยอมรับจากนายจ้างต่างชาติก็คือ มนุษย์เงินเดือน
ชาวไทยยังขาดทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษที่คล่องแคล่ว ขาดความชำนาญระดับลึกใน
วิชาชีพของตนเอง และมีทัศนคติในการทำงานที่ไม่เอื้อต่อการเติบโตในหน้าที่การงาน

จากการสำรวจความเห็นของธุรกิจไทยกว่า 300 บริษัทและต่างชาติราว 7,000 บริษัท พบว่าการขาดแคลนแรงงานทักษะเป็นปัจจัยสำคัญที่ธุรกิจไทยกำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้ โดยทักษะที่ขาดแคลนมากเป็นพิเศษอยู่ในระดับผู้บริหารระดับสูงด้านการวางแผนธุรกิจ การเงินและไอที “บริษัทไทยดูจะประสบปัญหานี้มากกว่าคู่แข่งในระดับโลกเมื่อผู้บริหาร
ในระดับอาวุโสลาออก เนื่องจากในประเทศไทยมีคนที่มีทักษะด้านนี้น้อยกว่าที่อื่นๆ"

ดังนั้น เสียงเรียกร้องให้มีการปรับปรุงคุณภาพแรงงาน จึงมิได้จำกัดอยู่แค่ความรู้เชิงวิชาการ
หรือความรู้พื้นฐานในการทำงานเท่านั้น แต่หมายถึงทัศนคติของแรงงานอีกด้วย แม้จะมี
ความพยายามเชื่อมโยงโลกการทำงานของคนรุ่นใหม่และผู้บริหารให้ใกล้ชิดกันมากขึ้น แต่สุดท้ายเมื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของคนทั้งสองรุ่นก็พบว่า ทัศนคติที่เป็นอุปสรรคใน
การทำงานนั้นไปปรากฏอยู่กับคนรุ่นใหม่มากกว่า

จุดที่น่าสังเกตก็คือ หลายอาชีพมีสิทธิ์ก้าวเข้าสู่การเป็นมนุษย์ทองคำ ถ้างานที่ทำสัมพันธ์โดย
ตรงกับการหารายได้เพิ่มและลดต้นทุนให้องค์กรได้ หรือเป็นวิชาชีพที่มีความต้องการ
มากกว่าจำนวนแรงงาน แต่ใครจะมีค่าตัวเท่าใดนั้น สิ่งสำคัญอยู่ที่ต้องมีความรู้ ความเชี่ยว
ชาญในสาขางานที่จะทำ ต้องมีทักษะพื้นฐานแบบที่องค์กรต้องการ ไม่ว่าจะเป็นมีความผูกพัน
กับงาน ทำงานเป็นทีมได้ เหนืออื่นใดเขาหรือเธอต้องมีสมรรถนะหรือขีดความสามารถที่
โดดเด่น 4 ด้านนั่นคือ 1. เก่งในการคิดเชิงวิเคราะห์หรือคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล วิเคราะห์
ปัญหาหรือวิเคราะห์เหตุที่จะนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ต้องการได้ 2. เก่งในการคิดแบบองค์รวมหรือ
คิดให้เห็นภาพใหญ่ได้ 3. กล้าคิดนอกกรอบ ซึ่งนำไปสู่นวัตกรรมใหม่ๆ และ 4. มีความ
สามารถในการหาข้อมูล และรักที่จะเรียนรู้ตลอดเวลา แต่คนที่มีคุณสมบัติ 4 ข้อนี้ชนิดที่ถูกใจองค์กรจริงๆ มีน้อยมาก...

อ่านเพิ่้มเติมได้ที่
http://www.businessweek.co.th/

AttachmentSize
มนุษย์เงินเดือนมืออาชีพ885.5 KB
Posted In