ผู้สร้างตำนาน "Ctrl+Alt+Delete"

คอนโทรล (Ctrl) ออลติเนต (Alt) และดีลีท (Delete) คือคำสั่งยอดฮิตสำหรับจัดการกับคอมพิวเตอร์ ที่ไม่สามารถควบคุมได้ที่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทั่วไปรู้จักกันดี โดยทั้งสามปุ่มนี้จะต้องกดพร้อม ๆ กัน จากนั้นระบบจะทำการบูตเครื่องใหม่ ซึ่ง
ทั้งสามปุ่มนี้ เป็นที่รู้จักและยอมรับอย่างแพร่หลายมาตลอด 10 ปีที่คอมพิวเตอร์มีบทบาทกับชีวิตของมนุษย์เรา

“เดวิด บรัดเลย์ (David Bradley)” หนึ่งในพนักงานจากยักษ์ใหญ่สีฟ้า “IBM” เขาคือผู้คิดค้นโค้ดคำสั่งดังกล่าว โดยใช้เวลาเพียงแค่ 5 นาที ในการเขียนโค้ดคำสั่ง แต่คงปฏิเสธไม่ได้ว่า เขาได้สร้างคำสั่งที่ตรงใจผู้ใช้และจำเป็นมากที่สุดคำสั่งหนึ่งเลยทีเดียว

บรัดเลย์เข้าร่วมงานกับไอบีเอ็มเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1975 ในตำแหน่งวิศวกร ประจำอยู่ที่โบคา ราตัน รัฐฟลอริด้า จากนั้นในปี 1980 เขาคือทีมงาน 1 ใน 12 คนของไอบีเอ็มที่ปลุกปั้นคอมพิวเตอร์พีซีขึ้นมา ซึ่งนั่นทำให้เขาย้ายมาทำในส่วนของการวิจัยและพัฒนาให้กับไอบีเอ็ม

โดยในยุคเริ่มแรกของพีซีนั้น พวกเขาจำเป็นต้องออกแบบให้มันใช้งานได้ง่ายที่สุด รวมถึงวิธีการรีสตาร์ทเครื่องคอมพิวเตอร์ ในกรณีที่มันทำงานผิดพลาด หรือเกิดแฮงค์ขึ้นมานั่นเอง และโค้ดคำสั่ง Ctrl + Alt + Delete ก็คือหนึ่งในหลาย ๆ คำสั่งที่บรัดเลย์คิดขึ้นมาได้

“ในตอนนั้นผมไม่ทราบหรอกว่ามันจะกลายเป็น คำสั่งสำคัญของคอมพิวเตอร์พีซีในอนาคต เพราะว่าผมก็ต้องคิดคำสั่งต่าง ๆ อีกมากมาย นอกเหนือจาก Ctrl+Alt+Delete แต่ปรากฏว่าคำสั่งดังกล่าวนี้ เป็นที่รู้จักมากที่สุด”

แต่ก็อาจกล่าวได้ว่า ชื่อเสียงที่โด่งดังของเขานั้น ขึ้นอยู่กับความผิดพลาดของคนสร้างโปรแกรม ว่าจะสร้างพลาดมากน้อยเพียงไร โดยเขากล่าวว่า “ผมอาจจะเป็นคนสร้างมันขึ้นมา แต่บิล เกตต์ คือคนที่ทำให้มันเป็นที่รู้จัก” ซึ่งการสรรเสริญของบรัดเลย์ต่อบิล ถึงความผิดพลาด ในการทำงานของซอฟต์แวร์ของบิล เกตต์นั่นเองเกตต์ครั้งนี้ ทำให้เจ้าของค่ายยักษ์ใหญ่อย่างไมโครซอฟท์ ผู้สร้างซอฟต์แวร์Microsoft’s Windows ชื่อดังถึงกับหัวเราะไม่ออกมาแล้ว เพราะอีกนัยหนึ่งก็คือการตอกย้ำให้เห็น

ปัจจุบัน บรัดเลย์มีอายุ 55 ปี และได้ลาออกจากไอบีเอ็ม บริษัทที่เขาใช้เวลาร่วมด้วยนานเกือบทั้งชีวิต เป็นระยะทางทั้งสิ้น 28.5 ปีแล้ว จากนั้นรายงานระบุว่า เขาจะใช้เวลาหลังการเกษียณตัวเองในการสอน นักศึกษาให้กับมหาวิทยาลัยนอร์ท แคโรไลน่า

ที่มา http://www.tttonline.net/technologies/viewDetails.php?type_id=858

Posted In